การตรวจยีนส์ Biomarker ในมะเร็งปอด

#LungAndMe
#มะเร็งปอด
#Biomarker

ปัจจุบันในมะเร็งปอดมีการตรวจหาถึงระดับยีนส์หรือที่เรียกว่า Biomarker

แล้วการตรวจBiomarkerคืออะไร มีกี่แบบ มีประโยชน์กับผู้ป่วยมะเร็งปอดยังไง

⚠️ มาฟังคำตอบจาก
พ.ท.พญ.สิริวิมล ไทรแจ่มจันทร์
อายุรแพทย์แผนกมะเร็งวิทยา
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ในสมัยก่อนเราตรวจหาว่าใครเป็นมะเร็งและรักษาได้เพียงเคมีบำบัด แต่ปัจจุบันการแพทย์มีการพัฒนาที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถตรวจหาในสิ่งที่เมื่อก่อนหาไม่เจอ แต่ปัจจุบันเจอเยอะขึ้นได้ ส่งผลให้มีวิธีการรักษาแบบใหม่ๆ

มะเร็งปอดโดยรวมแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ตัวเล็ก (Non-small Cell Lung cancer)
2. มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung cancer)

เราให้ความสนใจกลุ่ม Non-small cell lung cancer มากกว่า เพราะมีโอกาสพบได้ถึงร้อยละ 80
โดยเมื่อดูชนิดย่อยของ Non small cell lung cancer ลงไปอีกพบว่า ร้อยละ 80 - 85 เป็นชนิด Adenocarcinomas ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสนใจเพราะว่าพบได้บ่อย จึงมีความต้องการที่จะพัฒนายาหรือการตรวจที่เฉพาะเจาะจงต่อมะเร็งชนิดนี้ และได้ค้นพบยาออกฤทธิ์มุ่งเป้า (Targeted therapy) เป็นยาที่มีคุณภาพดีมาก ในการออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งโดยตรง

การตรวจยีน (Biomarker)
การจะใช้ยาออกฤทธิ์มุ่งเป้าได้นั้นจะต้องมีการตรวจยีน หรือที่เรียกว่า “BIOMARKER” ก่อน ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้มีประโยชน์หลายอย่าง คือ
- ช่วยพยากรณ์ของโรคได้ว่าโรคมีความรุนแรงแค่ไหน
- ช่วยให้คุณหมอเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายได้ เช่น การให้ยามุ่งเป้าที่ตรงกับยีนของผู้ป่วย
- ช่วยให้เลือกยาในกลุ่มผู้ป่วยที่มียีนดื้ยาได้

การตรวจยีน หรือ Biomarker มีการตรวจทั้งหมด 3 วิธี
1. การตรวจหายีนกลายพันธุ์ทีละตัว เป็นการไล่ตรวจยีนทีละตัว โดยจะไล่ตรวจจากยีนที่มีโอกาสพบการกลายพันธุ์ได้บ่อยก่อน ใช้ระยะเวลารอผลประมาณ 3 - 5 วัน
2. การตรวจหายีนกลายพันธุ์เป็นกลุ่ม ข้อดีของการตรวจแบบนี้ คือ จะใช้ชิ้นเนื้อเพียงครั้งเดียว แต่สามารถตรวจยีนกลายพันธุ์ที่พบบ่อยในมะเร็งปอดได้หลายๆ ตัว ซึ่งจะใช้เวลารอผลประมาณ 2 สัปดาห์
3. การตรวจหายีนกลายพันธุ์แบบครอบคลุม สามารถตรวจยีนได้ครั้งละประมาณ 200 - 300 ตัว ใช้ระยะเวลารอผล 2 สัปดาห์

โดยในคนไข้คนไทยที่พบว่าเป็นมะเร็งปอดระยะลุกลาม จะมียีนกลายพันธุ์ที่พบได้บ่อยคือ ยีน EGFR พบได้ร้อยละ 60 รองลงมาคือ ยีน ALK พบได้ร้อยละ 5 ดังนั้นการตรวจยีนในคนไทยจึงนิยมตรวจทีละตัว

การตรวจยีนเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ แต่มีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้คุณหมอสามารถกำหนดแนวทางการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยรายนั้นๆ ได้ จึงแนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูไข้เพื่อพิจารณารับการตรวจ

#LungAndMe #BetterOutcomes
#มะเร็งปอด
#Biomarker
#การตรวจยีนส์

- - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

สามารถติดตาม LungAndMe ในช่องทางอื่นๆได้

Website : https://lungandme.com/
Line : https://lin.ee/lrchmuz
Facebook : http://facebook.com/lungandme/
Youtube:https://www.youtube.com/channel/UCStAqq56HtPD6FDHIC8GFvw