การผ่าตัดส่องกล้องในมะเร็งปอด
เพราะปอดเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยในการหายใจและต้องทำงานตลอดเวลา...มีใครเคยสงสัยกันมั้ยว่า ในผู้ป่วยมะเร็งปอด เค้าผ่าตัดกันได้อย่างไร ในขณะที่ยังต้องหายใจอยู่?ทำไมบางคนได้รับการผ่าตัดแต่บางคนไม่ได้ผ่า ใช้เฉพาะยา?แล้วการผ่าตัดรักษามะเร็งปอดปัจจุบันมีกี่เทคนิค แต่ละเทคนิคมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันยังไง?⚠️ มาฟังข้อมูลที่ดีๆจากนพ.ศิระ เลาหทัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผ่าตัดส่องกล้องทรวงอกหน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอกโรงพยาบาลวชิรพยาบาลการผ่าตัดส่องกล้องในมะเร็งปอดการผ่าตัดมะเร็งค่อนข้างมีบทบาทในคนไข้ที่เป็นมะเร็งระยะที่หนึ่งและระยะที่สอง หรือคนไข้ที่มีก้อนเนื้อ 8 มิลลิเมตร ซึ่งก็คือคนไข้ที่อยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น การผ่าตัดมะเร็ง มีการผ่าตัดอยู่ 2 แบบ คือ 1. การผ่าตัดแบบเปิด จะทำให้เราเห็นส่วนต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน สามารถผ่าตัดได้ง่าย แต่ข้อเสียของการผ่าตัดแบบเปิด จะทำให้มีแผลที่ขนาดใหญ่ จึงทำให้ต้องใช้เวลาพักฟื้นตัวนาน 2. การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง จะทำคล้ายการผ่าตัดทั่วไป โดยจะทำการเจาะรู้ขนาดประมาณ 3 เซนติเมตร สอดกล้องและเครื่องมือเข้าไปทำการผ่าตัดผ่านช่องรูนี้ เพราะฉะนั้นแผลจะค่อนข้างเล็ก อาการบาดเจ็บต่ออวัยวะลดลง จึงทำให้พักฟื้นได้เร็วขึ้นปอดเปรียบเสมือนบอลลูน เมื่อเราหายใจเข้าปอดของเราจะพอง เวลาหายใจออกปอดจะยุบตัวลง เพราะฉะนั้นเราจะไม่สามารถผ่าตัดปอดที่กำลังขยับอยู่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือเราต้องบล็อกทางเดินลม ไม่ว่าจะผ่าตัดเปิดหรือผ่าส่องกล้อง เราก็ต้องใส่ท่อช่วยหายใจปกติ โดยเราต้องใส่ท่อทั้งปอดข้างซ้ายและปอดข้างขวา สิ่งที่เกิดขึ้น ถ้าเราผ่าตัดปอดข้างขวา จะต้องหนีบท่อที่ไปเลี้ยงปอดข้างขวาให้เข้าไปพ่นลมข้างซ้ายข้างเดียว ทำให้เกิดช่องว่าง จึงสามารถผ่าตัดได้ การผ่าตัดส่องกล้องทางเลือกใหม่นอกจากนี้ยังมีการผ่าตัดอีกชนิดหนึ่ง เป็นการผ่าตัดส่องกล้องที่เรียกว่า “ผ่าตัดส่องกล้องทางเลือกใหม่” เป็นการผ่าตัดที่ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายมีผลข้างเคียงจากการใส่ท่อช่วยหายใจ โดยการผ่าตัดนี้จะเปิดช่องผ่าตัดเหมือนเดิม แผลประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร อย่างไรก็ตามการผ่าตัดชนิดนี้เป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อน เพราะต้องอาศัยร่วมกันหลายทีมโดยเฉพาะของทางวิสัญญีแพทย์ที่ต้องมีความชำนาญ ข้อจำกัดของการผ่าตัดทางเลือกใหม่จะเหมาะกับคนไข้แค่บางกลุ่มเท่านั้น- กลุ่มแรก คือ กลุ่มที่เป็นมะเร็งระยะเริ่มต้นและมีก้อนเนื้อไม่เกิน 5 เซนติเมตร- กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มที่มีอายุไม่มากเกินไปและต้องไม่มีโรคหัวใจร่วมด้วย ส่วนตัวลักษณะคนไข้จะต้องไม่อ้วนจนเกินไป เช่น BMI มากกว่า 30 จะไม่สามารถผ่าตัดได้ และสุดท้ายผู้ป่วยคนนั้นจะต้องไม่เคยได้รับการฉายแสงหลังการผ่าตัดคำแนะนำแรกหลังจากผ่าตัดสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การฝึกการหายใจ โดยใช้เครื่องบริหารปอด ต้องฝึกทำอย่างน้อย 100 ครั้ง จะช่วยให้ปอดของเราขยาย เพราะว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปอด หลอดลมอาจมีโอกาสบวมได้ หรือเสมหะอุดตัน ทำให้ปอดติดเชื้อตามมา และอาจจะต้องงดเดินทางด้วยเครื่องบิน เนื่องจากมีการเปลี่ยนบรรยากาศอาจทำให้เกิดรอยรั่ว ควรงด 1 - 2 เดือน หลังการผ่าตัด#LungAndMe #BetterOutcomes#รักษามะเร็งปอด#การผ่าตัดปอด#ผ่าตัดมะเร็งปอด#ผ่าตัดส่องกล้องมะเร็งปอด#ผ่าตัดทรวงอก- - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -สามารถติดตาม LungAndMe ในช่องทางอื่นๆได้Website : https://lungandme.com/Line : https://lin.ee/lrchmuzFacebook : http://facebook.com/lungandme/Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCStAqq56HtPD6FDHIC8GFvw