มะเร็งกลายพันธุ์พบได้น้อยในมะเร็งปอด

มะเร็งกลายพันธุ์ที่พบได้น้อยก็มีโอกาสพบได้ทุก ๆ คน ไม่ว่าจะอายุมากหรืออายุน้อย เพศหญิงหรือเพศชาย ไม่ว่าคนไข้จะสูบบุหรี่หรือไม่ก็ตาม

โดยอุบัติการณ์ของยีนผิดปกติแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน
- ยีนผิดปกติที่พบบ่อยมีชื่อว่า EGFR
- ยีนกลายพันธ์ุที่พบได้น้อย ได้แก่ ยีน Met , ยีน HER2 , ยีน BRAF, ยีน NTRK และตัวสุดท้าย ยีน ROS1 จะพบได้ประมาณ 5%

แต่ไม่ต้องกังวลไม่ว่าจะเป็นมะเร็งปอดชนิดไหน เพราะสามารถรักษามะเร็งปอดที่มียีนกลายพันธ์ุ ด้วยการใช้เคมีบำบัด และจะตอบสนองเหมือนกับคนไข้มะเร็งทั่วไป นอกจากนั้นคนไข้ยังสามารถใช้วิธีการรักษาแบบยามุ่งเป้าจำเพาะเจาะจงกับยีนกลายพันธุ์ของคนไข้ได้

โดยการตรวจหายีนกลายพันธ์ุมีการตรวจอยู่ด้วยกัน 2 แบบ
- NGS ( New Generation Seqencing ) เป็นการตรวจค้นหายีนหลายชนิดพร้อมกัน
- การตรวจเฉพาะยีนที่มียามุ่งเป้า จะใช้การตรวจประมาณ 7-10 ยีน โดยการตรวจเหล่านี้ทำให้แพทย์วางแผนการรักษาคนไข้มะเร็งได้สมบูรณ์แบบ

ถ้าเริ่มมีอาการไอเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ ไอเป็นเลือด และมีน้ำหนักลด ถ้ามีอาการแบบนี้ให้รีบพบแพทย์ทันที อย่ารอให้มีอาการเป็นเยอะ

ถ้ายังเป็นมะเร็งปอดระยะแรกก็ยังมีโอกาสหายขาดได้ค่อนข้างเยอะ แต่ถ้ารอจนอาการเริ่มเยอะ แล้วค่อยมาตรวจ ก็อาจถึงขั้นมะเร็งปอดระยะแพร่กระจาย แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นมะเร็งปอดระยะแพร่กระจายแล้ว ก็ยังมีการรักษาหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น ยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้า หรือยาภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และทำให้คนไข้มีอายุยืนยาวมากขึ้น